สาระน่ารู้ / เกร็ดความรู้

กินอย่างไร?? ไม่ทำลายกระเพาะอาหาร

หลายคนคงทราบกันดีว่ากระเพาะอาหารจะทำหน้าที่ในการผลิตน้ำย่อยออกมาย่อยอาหาร โดยกระเพาะอาหารจะบีบตัวให้อาหารคลุกเคล้ากับน้ำย่อย ก่อนจะส่งต่อไปยังลำไส้ เพื่อดูดซึมเข้าร่างกายต่อไป ส่วนปัญหาและสาเหตุที่พบบ่อยๆ ก็มีดังนี้

• อาหารไม่ย่อย หรือการย่อยทำงานไม่มีประสิทธิภาพ เกิดจากการรีบเร่งกินอาหาร หรือกินในปริมาณมากเกินไป ทำให้เอนไซม์ในน้ำลาย ย่อยอาหารไม่ทัน และยังทำให้น้ำย่อยในกระเพาะหลั่งได้น้อยลงอีกด้วย
• กระเพาะอาหารจะมีความไวต่ออาหารบางประเภท เช่น อาหารจำพวกแป้งสาลี นม โดยเฉพาะอาหารที่มีเส้นใยมาก เพราะเป็นตัวดูดซับน้ำไว้ เมื่อพองตัวจะทำให้ท้องอืด เกิดอาการจุกแน่น
• การเกิดแก๊สในระบบทางเดินอาหารมาก เกิดจากการดื่มน้ำอัดลม หรือการกินผลไม้หลังกินอาหารที่มีไขมัน เนื่องจากไขมันย่อยช้า ผลไม้จึงบูดก่อนที่จะได้ย่อย ทำให้เกิดแก๊สขึ้น
• กรดเกินในกระเพาะ เกิดจากความเครียดมีผลกระตุ้นให้กล้ามเนื้อกระเพาะอาหารบีบรัดตัว ซึ่งเป็นการสร้างกรดในกระเพาะ เครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนและแอลกอฮอล์ ยังเป็นอีกสาเหตุหนึ่ง ที่ทำให้กรดในกระเพาะอาหารหลั่งมากขึ้น

เมื่อทราบสาเหตุแล้วมาลองปรับพฤติกรรมการรับประทานอาหารกันนะคะ

1. เคี้ยวอาหารช้าๆ เคี้ยวให้ละเอียด ไม่ควรกินอาหารให้อิ่มเกินไป เว้นช่วงมื้ออาหารมื้อละ 4 ชั่วโมง ควรกินอาหารมื้อสุดท้ายก่อนเวลานอนอย่างน้อย 3 ชั่วโมง
2. อย่าดื่มน้ำมากกว่า 1 แก้ว ระหว่างรับประทานอาหาร
3. ลดการบริโภคเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอลล์ หรือพวกเครื่องดื่มอัดแก๊ส เปลี่ยนเป็นเครื่องดื่มสมุนไพรก็ไม่เลวนะคะ
4. หลังรับประทานอาหารอิ่มใหม่ๆ อย่าเพิ่งเคลื่อนไหวร่างกาย เพราะอาจทำให้เกิดอาการแน่นท้อง จุกเสียดได้ค่ะ
5. เว้นการรับประทานอาหารที่มีไขมันสูง กินอาหารไทยกินพืชผักสมุนไพรบ้านเรานี่แหละค่ะ ทั้งอร่อยทั้งมีสรรพคุณทางยา เช่น ใบสะระแหน่ที่อยู่ในลาบน้ำตก ช่วยขับลมดีนักแล หากมีอาการจุกเสียดแน่นท้อง ก็สามารถบรรเทาอาการด้วย ยาแคปซูลสมุนไพรขมิ้นชัน ดร.สาโรช ด้วยสรรพคุณช่วยขับลม บรรเทาอาการท้องอืด จุกเสียดแน่นท้อง ลดการบีบตัวของลำไส้ กระตุ้นการขับน้ำดีทำให้การย่อยอาหารดีขึ้น สาร Curcumin ในขมิ้นชันยังจะช่วยกระตุ้นการหลั่ง Mucin มาเคลือบกระเพาะอาหาร ทำให้ช่วยลดการเกิดแผลในกระเพาะอาหารได้ค่ะ